ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: การวางท่อระบายน้ำในบ้านที่ถูกวิธี ต้องคำนึงถึงสิ่งใด ?  (อ่าน 119 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 319
  • โพสฟรี โพสต์ขายของฟรี ลงโฆษณาสินค้าฟรี โฆษณาสินค้าฟรี สมัครสมาชิก ขายรถมือสอง แหล่งรวมของสะสม มากมายให้เลือกซื้อขาย
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: การวางท่อระบายน้ำในบ้านที่ถูกวิธี ต้องคำนึงถึงสิ่งใด ?

ปัญหาน้ำรั่วซึมภายในบ้านนอกจากเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐาน หรือเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาน้ำรั่วซึมก็คือ การวางระบบท่อน้ำภายในบ้านที่ไม่ถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมภายในบ้าน อันดับแรกเจ้าของบ้านควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้งระบบท่อประปาที่ได้มาตรฐาน รวมถึงศึกษาข้อมูลเบื้องตันเกี่ยวกับชนิดของท่อประปา รวมถึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยท่อที่ใช้สำหรับงานประปามีหลากชนิด ดังนี้

- ท่อ PVC
- ท่อไซเลอร์
- ท่อ PPR
- ท่อพีอีเอทิลิน


ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่ต่างกันออกไป สำหรับท่อที่นิยมใช้มากที่สุดคือท่อ PVC เนื่องจากมีราคาไม่แพง อีกทั้งเป็นพลาสติกที่มีความทนทาน มีความยืดยุ่นสูง ขึ้นรูปง่าย โดยท่อ PVC มี 2 ชนิด ดังนี้

ท่อ PVC สีฟ้า : เป็นชนิดที่ได้หลายบ้านนิยมใช้ มีความยืดยุ่น และแข็งแรง ความหนามีขนาด 13.5, 8.5 และ 5 มิลลิเมตร หากต้องการใช้งานกับปั๊มน้ำ ควรเลือกที่มีความหนามากที่สุด เพื่อจะได้ทาต่อแรงดึงดูด รวมถึงแรงดันของปั๊มน้ำได้ดี  สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ห้ามนำท่อ PVC สีฟ้ามาเดินสายไฟเป็นอันขาด เนื่องจากเป็นชนิดท่อที่ไม่มีสารกันไฟ และไม่มีความยืดยุ่น หากต้องการใช้ท่อเดินสายไฟ แนะนำให้เลือกท่อ PVC สีเหลือง

ท่อ PVC สีเทา : เป็นชนิดท่อที่มีราคาถูก มีความบาง และยืดยุ่นได้น้อย มักนิยมใช้ในระบบส่งน้ำทางการเกษตร หรือระบบการส่งน้ำที่ไม่พิถีพิถัน โดยไม่เหมาะกับการนำมาใช้กับระบบท่อภายในบ้าน เนื่องจากไม่มีความคงทน รวมถึงไม่ควรนำมาใช้ร้อยกับสายไฟ เพราะท่อ PVC เมื่อโดดความร้อนจะเกิดอาการหดตัว

การบริหารจัดการน้ำภายในบ้าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบสุขาภิบาล ซึ่งการจัดระบบท่อสุขาภิบาลต้องมีวิศวกรออกแบบ เพื่อให้มีความเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมภายหลัง สำหรับระบบท่อสุขาภิบาลจะไม่มีแรงดันน้ำ โดยภายในท่อจะลำเลียงของเหลวให้ไหลไปตามทางลาดเอียงของเส้นท่อ โดยระบบสุขาภิบาลจะแยกระบบท่อน้ำทิ้ง ดังนี้

ระบบท่อน้ำโสโครก : เป็นระบบท่อน้ำเสียจากโถส้วมปัสสาวะในห้องน้ำ แล้วไหลลงไปยังระบบถังบำบัดน้ำเสีย
ระบบท่อระบายน้ำทิ้ง : เป็นระบบท่อน้ำเน่าที่มาจากอ้างล้างหน้า น้ำจากการอาบน้ำ หรือน้ำล้างจาน แล้วไหลลงไปยังระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบท่อระบายอากาศ : ติดตั้งกับระบบท่อระน้ำน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาสุญญากาศภายในเส้นท่อ ซึ่งจะทำให้ท่อระบายน้ำได้สะดวก
ระบบท่อระบายน้ำภายนอก : เป็นระบบที่ลำเลียงน้ำออกไปยังระบบระบายน้ำสาธารณะ

เพื่อป้องกันไม่ให้การเปิดปัญหาน้ำรั่วซึม พี่เข้วิธีเลือกใช้ท่อที่เหมาะสม รวมถึงการติดตั้งระบบท่อระบายน้ำภายในบ้านที่ถูกวิธีมาบอกครับ


เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ

อันดับแรกควรเลือกซื้อท่อระบายที่วัสดุมีคุณภาพ และตรงตามมาตรฐานที่กำหนด อีกทั้งเป็นท่อใหม่ ไม่มีรอยแตก หรือสีหมอง ที่สำคัญด้านบนท่อควรมีการประทับข้อความระบุยี่ห้อเป็นระยะๆ หรือมีชื่อของบริษัทที่ผลิต มีตัวเลขบอกถึงความหนาของตัวท่อ รวมถึงบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และมีเครื่องหมายการรองรับมาตรฐานอุตสาหกรรม


เลือกชนิดของท่อที่เหมาะสม

ท่อน้ำดี และท่อน้ำทิ้ง สามารถใช้ท่อ PVC สามารถใช้ท่อ PCV แบบปกติได้ เนื่องจากเป็นมีอุณหภูมิน้ำปกติ แต่หากเป็นท่อน้ำร้อนให้เลือกใช้ท่อทองแดง หากต้องการให้สามารถใช้ทางทั้งน้ำเย็น และน้ำร้อน แนะนำให้เลือกใช้ท่อ PPR สำหรับท่อที่ต้องรับแรงดันมาก ต้องใช้ท่อเหล็กที่มีความแข็งแรงทนทาน ส่วนท่อน้ำร้อนที่เชื่อมต่อระหว่างตัวเครื่องทำน้ำร้อนกับวาล์วควบคุมการเปิด-ปิดน้ำร้อน ที่อยู่บริเวณด้านล่างอ่างอาบน้ำแนะนำใช้ท่อเหล็ก หลีกเลี่ยงการใช้ท่อ PVC เพราะความร้อนอาจทำให้ท่อ PVC ละลายได้


เลือกใช้ขนาดท่อที่เหมาะสม

ความหนาของท่อ PVC ที่เหมาะสมคือ 13.5, 8.5 หรือ 5 มิลลิเมตร ส่วนท่อน้ำทั่วไปต้องมีความหนาที่ 8.5 มิลลิเมตร แต่หากจุดที่ต้องใช้แรงดันน้ำมากควรเลือกใช้ท่อที่มีความหนา 13.5 มิลลิเมตร นอกจากนี้ขนาดของท่อก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน โดยควรเลือกขนาดท่อที่ลดหลั่นจากจุดมาตรวัดน้ำ หรือท่อที่ต่อจากปั๊มน้ำขนาดใหญ่ไปเล็ก โดยขนาดท่อน้ำที่เหมาะอยู่ที่ 1 ½ นิ้ว – 1 นิ้ว จากนั้นให้ใช้ท่อต่อขนาดเล็กลง ซึ่งจะเป็นการทำให้น้ำส่งต่อไปยังส่วนต่างๆ ของบ้าน สำหรับท่อน้ำที่ได้มาตรฐานคือต้องมีขนาด ¾ นิ้ว ส่วนท่อแยกที่ใช้ในส่วนของสุขภัณฑ์ ต้องมีขนาด ½ นิ้ว ในส่วนของท่อโสโครกต้องใช้ที่มีขนาด 4 นิ้ว และต้องทำการลาดเอียงไว้ด้วย


การต่อท่อน้ำที่ถูกวิธี มีดังนี้....

- วางแผนก่อนการเดินท่อ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง
- ต่อท่อ PVC ต้องเช็ดทำความสะอาดก่อนทาน้ำยาประสาน รวมถึงวัดระยะการต่อท่อที่เหมาะสม และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
- เดินท่อให้สั้นที่สุด และให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
- เมื่อเดินท่อเสร็จต้องทำหัวอุดท่อก่อนจะต่อกับสุขภัณฑ์ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกลงไปในท่อ
- การเดินท่อน้ำแบบฝังต้องเทพื้น หรือฉาบผนังก่อน รวมถึงทดสอบการไหลของน้ำ และตรวจสอบว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาการซ่อมแซมภายหลัง

หลังจากที่วางระบบท่อเสร็จ เจ้าของบ้านควรตรวจเช็คหน้างานด้วยการเริ่มจากจุดมาตรวัดน้ำ โดยเป็นจุดที่น้ำภายนอกไหลเข้าสู่ภายในบ้าน ซึ่งต้องมีวาล์ หรือประตูน้ำ 2 ชนิด คือ

1. บอลวาล์ว
2. เกทวาล์ว

โดยต้องติดตั้งกับท่อส่งน้ำทั้งก่อน และหลังมาตรวัดน้ำ รวมถึงถ้าในระบบมีปั้มน้ำ ก็ควรต้องมีวาล์วติดตั้งท่อส่งน้ำทั้งก่อนและหลัง ส่วนบริเวณสุขภัณฑ์ให้ตรวจเช็คว่า น้ำสามารถส่งถึงอุปกรณ์ได้ดีหรือไม่ รวมถึงระบายน้ำทิ้งได้ ท่อโสโครกไม่เกิดปัญหาอุดตัน มีสำคัญคือท่อที่ต่อจากโถปัสสาวะ ต้องแยกกันเพราะมิเช่นนั่นจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และได้น้ำที่ไม่สะอาด และหลังจากที่ติดตั้งระบบท่อน้ำ ควรทดลองเปิด-ปิดน้ำแต่ละบริเวณว่ามีการรั่วซึมหรือไม่
 
เพื่อได้ระบบท่อน้ำที่มีมาตรฐาน ควรเลือกช่างที่มีความรู้ความชำนาญ และเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม จะได้ไม้เกิดปัญหารั่วซึมภายหลัง โดยที่เจจะเข้มีผลิภัณฑ์เหมาะแก่การซ่อมสร้าง ไรปัญหาใดๆ มาทำให้เวีนยหัว!