รถแลกเงินธนชาตอนุมัติกี่วัน ? ต้องโอนเล่มไหมแค่นำรถ มาเปลี่ยนเป็นเงินก้อน
ปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินเป็นสถานการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งหากตกอยู่ในสภาวะที่ต้องการเงินก้อนมาเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินแล้วล่ะ ทางเลือกที่คนมีรถยนต์ส่วนใหญ่เลือกใช้ นั่นคือ การยื่นขอ “สินเชื่อรถแลกเงิน” แค่ชื่อก็บอกตรงตัวอยู่แล้ว ว่านี่คือ การกู้สินเชื่อบุคคลมาใช้จ่าย โดยเงื่อนไขสำคัญอีกอย่างของสินเชื่อรถแลกเงิน คือ ผู้กู้จะต้องนำรถยนต์ของตัวเองที่ผ่อนหมดแล้ว หรือยังผ่อนไม่หมด (ตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร) มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ก้อนนี้
ปัจจุบันก็มีบริษัทไฟแนนซ์ รวมถึงธนาคารต่าง ๆ มีสินเชื่อตัวนี้ให้บริการอยู่ โดยมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป และธนาคารธนชาตก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีบริการสินเชื่อรถแลกเงิน สำหรับใครที่สนใจสินเชื่อรถแลกเงินธนชาต แต่ไม่รู้ว่า ใช้เอกสารอะไรบ้าง กี่วันได้เงิน มาดูคำตอบกัน
สำหรับ “สินเชื่อรถแลกเงินธนชาต” หรือที่เรียกกันว่า “สินเชื่อธนชาตDRIVE รถแลกเงิน เคลียร์หนี้” เป็นสินเชื่อเงินก้อนที่คุณสามารถนำรถยนต์ของตัวเอง มาใช้เป็นหลักประกัน ไม่ว่าจะติดไฟแนนซ์อยู่ หรือปลอดภาระหนี้แล้ว ก็สามารถนำมาแลกเงินได้ทั้งคู่
และที่หลายคนยังไม่รู้ก็คือ สินเชื่อรถแลกเงินธนชาต มีทั้งแบบโอน และไม่โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ซึ่งจะมีข้อแตกต่างในเรื่องของการผ่อนชำระที่สามารถโปะได้ กับโปะไม่ได้ อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ กับแบบลดต้นลดดอก
จุดเด่นของสินเชื่อรถแลกเงินธนชาต
ผ่อนสบายเริ่มต้นแสนละ 59 บาทต่อวัน
วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมิน
ผ่อนสบายนาน 72 เดือน
ไม่มีผู้ค้ำประกัน (ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ธนาคารกำหนด)
ประเภทรถยนต์ที่สินเชื่อรถแลกเงินธนชาตรับ
รถยนต์ ที่จดทะเบียนการใช้งานมาแล้วไม่เกิน 16 ปี
รถกระบะ ยกเว้นรถรับจ้าง ที่จดทะเบียนการใช้งานมาแล้วไม่เกิน 16 ปี
สินเชื่อรถแลกเงินธนชาต ใช้เอกสารอะไรบ้าง
สำเนาบัตรประชาชน / บัตรข้าราชการ จำนวน 3 ชุด
สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 3 ชุด
สลิปเงินเดือนฉบับล่าสุด หรือหนังสือรับรองรายได้
สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร ย้อนหลัง 6 เดือน
สำเนาสมุดบัญชีหน้าแรกของธนาคาร เพื่อโอนเงินเข้า
เล่มทะเบียนรถยนต์
แผนที่ตั้งของที่อยู่อาศัย และที่ทำงาน
สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ/เจ้าของกิจการ จำนวน 3 ชุด (สำหรับเจ้าของกิจการ)
สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจ/เจ้าของกิจการ จำนวน 3 ชุด (สำหรับเจ้าของกิจการ)
สำเนาหนังสือรับรองบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์ (สำหรับเจ้าของกิจการ)
สำเนาใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) (สำหรับเจ้าของกิจการ)