ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: มลพิษทางเสียงมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน  (อ่าน 23 ครั้ง)

siritidaphon

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 93
  • โพสฟรี โพสต์ขายของฟรี ลงโฆษณาสินค้าฟรี โฆษณาสินค้าฟรี สมัครสมาชิก ขายรถมือสอง แหล่งรวมของสะสม มากมายให้เลือกซื้อขาย
    • ดูรายละเอียด
ในปัจจุบันมลพิษทางเสียงส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องปฏิบัติงานกับเสียงดังรบกวนต่อเนื่องยาวนานตลอดระยะเวลาในการทำงาน ซึ่งมลพิษทางเสียงไม่เพียงก่อให้เกิดความหงุดหงิดรำคาญ แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น รบกวนการทำงาน ไม่มีสมาธิ เป็นเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง นอกจากนี้ มลพิษทางเสียงยังส่งผลต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น ทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างช้า ๆ หรือ ภาวะประสาทหูเสื่อม


ผลกระทบจากเสียงต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ส่วนใหญ่จะพบได้กับคนงาน การได้ยินเสียงที่ดังมากเกินไป จะทำให้เราเกิดความรำคาญ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ เกิดความเครียด ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และหากเสียงนั้นดังช่วงกลางคืนจะไปรบกวนการนอนหลับ อาการเหล่านี้นานไปจะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง อาจก่อให้เกิดอาการป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะ ภาวะความดันโลหิตสูง และหากได้ยินเสียงดังเกินกว่ากำหนดนานเกินไป อาจทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน

มลพิษทางเสียง จัดเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและต้องหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข หรือป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจ หรือแม้กระทั่งประสิทธิภาพในการทำงานก็เช่นเดียวกัน บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด เป็นบริษัทมืออาชีพในการแก้ไขปัญหาด้านเสียงรบกวน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเสียงสิ่งแวดล้อม ที่มีเครื่องมืออันทันสมัยและมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาด้านเสียงรบกวนให้กับผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงมายาวนานและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของลูกค้าที่มาใช้บริการ เรายินดีให้คำแนะนำพร้อมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียง เพื่อให้ระดับเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่อยู่ร่วมกันได้และไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนด




กฎหมายความปลอดภัยเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง เสียง

นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงมิให้ลูกจ้างได้รับสัมผัสเสียงในบริเวณสถานประกอบกิจการ ที่มีระดับเสียงสูงสุด ของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก เกิน ๑๔๐ เดซิเบล หรือได้รับสัมผัสเสียงที่มีระดับเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่เกินกว่า ๑๑๕ เดซิเบลเอ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงพ.ศ. ๒๕๕๙

นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. ๒๕๕๙

หมวด ๓ เสียง

ข้อ ๗ นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงมิให้ลูกจ้างได้รับสัมผัสเสียงในบริเวณสถานประกอบกิจการ ที่มีระดับเสียงสูงสุด (peak sound pressure level) ของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (impact or impulse noise) เกิน ๑๔๐ เดซิเบล หรือได้รับสัมผัสเสียงที่มีระดับเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (continuous steady noise) เกินกว่า ๑๑๕ เดซิเบลเอ




ฉนวนกันเสียง: มลพิษทางเสียงมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/