ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลสุขภาพ: ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย (Giardiasis)  (อ่าน 28 ครั้ง)

siritidaphon

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 93
  • โพสฟรี โพสต์ขายของฟรี ลงโฆษณาสินค้าฟรี โฆษณาสินค้าฟรี สมัครสมาชิก ขายรถมือสอง แหล่งรวมของสะสม มากมายให้เลือกซื้อขาย
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลสุขภาพ: ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย (Giardiasis)
« เมื่อ: วันที่ 10 พฤศจิกายน 2023, 22:43:54 น. »
ไกอาร์เดีย (Giardia) เป็นโปรโตซัว (สัตว์เซลล์เดียว) ชนิดหนึ่งแบบเดียวกับอะมีบา สามารถเข้าไปทำให้เกิดการติดเชื้อที่ลำไส้เล็ก กลายเป็นโรคท้องเดินทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังได้

โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก มักพบในถิ่นที่การสุขาภิบาลยังไม่ดี (เช่น ไม่มีส้วมใช้ ไม่มีน้ำดื่มสะอาด มีแมลงวันชุกชุม) หรือในกลุ่มคนที่ดื่มน้ำไม่สะอาด หรือขาดสุขนิสัยที่ดี

การติดเชื้อมักเกิดได้บ่อยในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพักฟื้นของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจิตเวช และในหมู่ชายรักร่วมเพศ

ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง แต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้คนอื่น


สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อไกอาร์เดียแลมเบลีย (Giardia lamblia) ที่อยู่ตามดินและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำห้วย หนอง บึง ทะเลสาบ บ่อน้ำ เป็นต้น และอาจปนเปื้อนอยู่ในสระว่ายน้ำและน้ำประปา (เนื่องจากเชื้อในรูปของซิสต์* มีความคงทน ไม่ถูกทำลายด้วยคลอรีน) ส่วนใหญ่ติดต่อโดยการดื่มน้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้แบบดิบ ๆ หรือจากการกินผัก ผลไม้ และอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจากนี้ยังอาจติดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อโดยผ่านทางการสัมผัสมือ หรือทางเพศสัมพันธ์ที่มีการใช้ปากสัมผัสกับทวารหนักหรือองคชาตที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระในบริเวณทวารหนัก (ซึ่งพบในหมู่ชายรักร่วมเพศ)

ระยะฟักตัว ประมาณ 1-3 สัปดาห์

*เชื้อนี้มีอยู่ตามดินและน้ำในรูปของถุงหุ้มหรือซิสต์ (cyst) ซึ่งสามารถมีชีวิตได้นานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน เมื่อคนกินซิสต์เข้าไปในลำไส้ ถุงหุ้มก็จะแตกปล่อยให้เชื้อออกมาแบ่งตัวเจริญเติบโตเป็นเชื้อระยะเจริญหรือโทรโฟซอยต์ (trophozoites) ซึ่งจะรุกล้ำเข้าไปในเยื่อบุลำไส้ ทำให้ลำไส้อักเสบและขัดขวางการดูดซึม และส่วนหนึ่งเจริญเป็นซิสต์ ขับออกทางอุจจาระไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย


อาการ

ในรายที่เป็นเฉียบพลัน แรกเริ่มมีอาการถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้ง (บางรายอาจถ่ายเหลวปริมาณมาก วันละ 1 ครั้งหลังอาหารเช้า) 3-4 วันต่อมาอุจจาระมีลักษณะเป็นมัน เป็นฟอง ลอยน้ำ และมีกลิ่นเหม็นจัด อาจส่งกลิ่นฟุ้งไปทั่วห้อง อุจจาระมักไม่มีมูกหรือเลือดปน (น้อยรายที่อาจมีมูกโดยไม่มีเลือด) ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบิดในท้อง มีลมในท้องมาก ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีผื่นขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีอาการอยู่นาน 1-3 สัปดาห์ (บางรายอาจนาน 6 สัปดาห์) แล้วหายไปได้เองเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยอาจมีอาการเรื้อรัง

ในรายที่เป็นเรื้อรัง (อาจเกิดตามหลังอาการเฉียบพลันหรือไม่ก็ได้) มักมีอาการที่เกิดจากการดูดซึมผิดปกติ (malabsorption) ได้แก่ อาการถ่ายอุจจาระเหลวปริมาณมากและบ่อย อุจจาระมีสีเหลืองเป็นฟอง มีลักษณะเป็นมันลอยน้ำ และมีกลิ่นเหม็นจัด อาการมักเป็น ๆ หาย ๆ หรือมีท้องผูกสลับท้องเดินนานเป็นแรมเดือนแรมปี มักมีอาการปวดท้อง (ซึ่งจะเป็นมากหลังกินอาหาร) มีลมในท้อง ท้องอืด และน้ำหนักลด

ข้อมูลสุขภาพ: ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย (Giardiasis) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/expert-scoops