ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: โลหิตเป็นพิษในทารกแรกเกิด (Septicemia of newborn)  (อ่าน 53 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 353
  • โพสฟรี โพสต์ขายของฟรี ลงโฆษณาสินค้าฟรี โฆษณาสินค้าฟรี สมัครสมาชิก ขายรถมือสอง แหล่งรวมของสะสม มากมายให้เลือกซื้อขาย
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: โลหิตเป็นพิษในทารกแรกเกิด (Septicemia of newborn)
« เมื่อ: วันที่ 29 พฤศจิกายน 2024, 14:27:10 น. »
หมอประจำบ้าน: โลหิตเป็นพิษในทารกแรกเกิด (Septicemia of newborn)

มักพบในทารกที่มารดามีประวัติน้ำเดิน (ถุงน้ำคร่ำแตก) ก่อนคลอดหลายชั่วโมง มารดาเป็นไข้ มีโรคติดเชื้อก่อนคลอด มีประวัติการตกเลือด หรือครรภ์เป็นพิษ รวมทั้งทารกที่คลอดผิดปกติ (คลอดยาก คลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักน้อยกว่าปกติ) ถือเป็นภาวะร้ายแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จนลุกลามเข้ากระแสเลือด และกระจายไปทั่วร่างกาย

อาการ

เด็กจะมีอาการซึม ไม่ยอมดูดนม อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้

อาจมีอาการท้องอืด ท้องเสีย อาเจียน หอบ ชัก ซีด มีจ้ำเขียวขึ้นตามตัว

อาการดีซ่านมักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด หรือ 1 สัปดาห์หลังคลอด

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะไตวาย ช็อก ภาวะเลือดจับเป็นลิ่มทั่วร่างกาย (DIC)

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและการตรวจพบไข้ ซีด เหลือง มีจุดแดงจ้ำเขียวตามตัว ตับโต ม้ามโต

แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เพาะเชื้อ เอกซเรย์

การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะรับตัวไว้ในโรงพยาบาล ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ฉีดเพนิซิลลินขนาดสูง ๆ หรือฉีดเจนตาไมซิน (gentamicin) คาร์เบนิซิลลิน (carbenicillin) เซฟาโลสปอริน (cephalosporin) หรือยาปฏิชีวนะอื่น ๆ ตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ

นอกจากนี้จะให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้น้ำเกลือ ให้เลือด ทำการล้างไต (dialysis) เป็นต้น

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น ทารกมีอาการไข้ ซึม ไม่ยอมดูดนม ตาเหลืองตัวเหลือง มีอาการท้องอืด ท้องเสีย อาเจียน หอบ ชัก ซีด หรือมีจ้ำเขียวขึ้นตามตัว ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโลหิตเป็นพิษในทารกแรกเกิด ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    หลังออกจากโรงพยาบาลมีอาการไข้กำเริบ ซึม ไม่ยอมดูดนม หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวล
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

ทารกแรกเกิดที่มีอาการไม่สบายซึ่งสงสัยเป็นโรคติดเชื้อ (เช่น มีไข้ ซึม ไม่ยอมดูดนม ท้องเสีย อาเจียน เป็นต้น) ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ จนหายขาด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโลหิตเป็นพิษแทรกซ้อนได้